Wednesday, December 15, 2010

Haworthia emelyae

Photobucket



เมื่อกล่าวถึงชื่อ Haworthia emelyae หลายท่านอาจจะไม่คุ้นหูเท่าไหร่ แต่ถ้าพูดถึง picta หรือ comptoniana อาจจะคุ้นหูกว่า ทั้งนี้ถึงจะแตกต่างกันมากขนาดไหน ทั้งสองตัวหลังนี้ก็ถูกจัดเป็นชนิดเดียวกัน ซึ่งตามหนังสือ Haworthia Revisited โดย Bruce Bayer ก็แบ่งแยกเป็น variety ต่างๆดังนี้


H. emelyae var. comptoniana
H. emelyae var. emelyae
H. emelyae var. major
H. emelyae var. multifolia



H. emelyae var. comptoniana จาก West of Georgida (Type locality)



Photobucket
H. emelyae var emelyae GM259 North West of Herold




Photobucket


H. emelyae var. major GM400 Muiskraal ไม้จาก Arid Lands Greenhouses



Photobucket

H. emelyae var. multifolia Springfontein เมล็ด Mesa Garden




ส่วน "picta" ที่แปลว่า"แต้มด้วยสี" นั้น ถือว่าเป็นฟอร์มของ H. emelyae var. emelyae ซึ่งก็มีทั้งแบบลายสวยๆ และแบบสีทึมๆ แล้วแต่ว่าจะมาจากแหล่งไหน และมีการคัดสายมาแล้วกี่ขั้นเท่านั้น ตัวอย่างเช่น picta ของญี่ปุ่น ที่มีการพัฒนาไปแล้วหลายขั้น จนได้ฟอร์มและลวดลายที่สวยงามกว่าไม้ดั้งเดิมจากถิ่นกำเนิดที่แอฟริกาใต้

Photobucket
H. emelyae "picta" จากญี่ปุ่น



Photobucket
ฟอร์มใหญ่มากจากญี่ปุ่น


H. emelyae var. emelyae นั้น มีความหลากหลายตามธรรมชาติสูง ซึ่งไม้จากคนละ population จะมีลักษณะที่แตกต่างกัน ทั้งทรงใบ ผิวใบ สีของใบ และลายของใบ ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมในการคัดเลือกสายพันธุ์ตามที่กล่าวไปแล้ว เพื่อให้ได้ไม้ที่มีลักษณะโดดเด่นนั่นเอง การเลี้ยงเจ้า var. emelyae หรือ "picta" นี้ถือว่ายากระดับปานกลาง ปัญหาที่พบบ่อยคือการทิ้งรากในหน้าร้อน เมื่ออุณหภูมิสูงมากๆ ไม้เหล่านี้ถูกโปรแกรมให้พักตัว ดังนั้นถ้าได้รับน้ำมากเกินไปในช่วงนี้ รากจะเน่าเสีย ทำให้ใบแฟบและชะงักการเจริญเติบโต สีจะไม่สวยงามเท่าที่ควร ซ้ำร้ายใบล่างๆอาจเน่า และอาจลามไปถึงแกนต้นได้ ทางแก้คือรดน้ำให้ถี่น้อยลงครึ่งหนึ่ง หรือรดน้ำเพียงโชยๆไม่ให้แฉะมากสลับการรดน้ำชุ่มเป็นครั้งคราว และควรใช้ดินที่มีความโปร่งสูงมาก โดยผสมหินภูเขาไฟหรือ perlite 40-50% ในเครื่องปลูก และหากโรงเรือนอากาศถ่ายเทไม่ดี ควรเพิ่มพัดลมที่เปิดส่ายไว้ 24 ชั่วโมง โดยติดตั้ง timer ให้ปิดพักเครื่องครึ่งชั่วโมง ทุกๆ 3-4 ชั่วโมง เการติดพัดลมนี้ใช้กันมากในญี่ปุ่นช่วงหน้าร้อน และผมเองก็ติดพัดลมในโรงเรือนเช่นกันพบว่าลดปัญหาการเน่าได้ดี

Photobucket
emelyae ในโรงแคคตัสของผม

ทั้งนี้เรื่องแสงเป็นสิ่งสำคัญมาก หากไม้ได้รับแสงมากไป ใบอาจจะไหม้โดยเปลี่ยนเป็นสีขาวๆซีดๆเป็นจ้ำๆ (ไม่ใช่ด่างนะ!) โดยอาจจะไม่ตาย แต่จะทำให้ไม้ชะงัก ดังนั้นควรพรางแสงด้วยแสลน 40-50% แต่ถ้าหากไว้ร่มเกินไป หรือชั่วโมงแสงไม่ถึง ไม้จะโชว์อาการยืดที่โคนใบ ทำให้ฟอร์มเสีย อีกทั้งสีสรรจะไม่สวยสะดุดตาเท่าที่ควรจะเป็น

var. comptoniana เป็น var ที่เลี้ยงง่ายที่สุด เป็นไม้ฟอร์มใหญ่ ใบเรียบเป็นมันวาว และมีลายตาข่ายบนหน้าใบชัดเจน ไม่ค่อยมีปัญหารากเสีย และค่อนข้างทนทานต่ออากาศร้อนและแสงแดด จึงเป็นไม้ที่น่าเล่นน่าเก็บสะสมไว้ในcollection


Photobucket


comptoniana จาก Type locality


ส่วน var. major และ var. multifolia เป็นไม้ฟอร์มเล็ก ใบมีจำนวนมากกว่าและเรียงกันแน่น บางฟอร์มมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างสอง var. นี้ กล่าวคือ major จะมีขนบนใบมาก แต่ multifolia ใบจะค่อนข้างเรียบเรียงซ้อนกันแน่น การเลี้ยงก็ง่ายพอกัน และเลี้ยงเหมือน var. emelyae ตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น หากเลี้ยงจนต้นโตๆเต็มฟอร์มแล้ว ความสวยงามก็มีไม่แพ้กันครับ


Photobucket

major ไม่มีdata จากเมล็ด Mesa Garden



Photobucket

H. emelyae var. multifolia Sandkraal ถือเป็นฟอร์มที่ค่อนไปทาง major


Photobucket

multifolia Springfontein อีกต้น


ช่วงหน้าหนาว Haworthia เกือบทุกชนิดจะเต่งตึงงดงามเป็นพิเศษ ช่วงนี้จึงเหมาะแก่การเปลี่ยนดินเปลี่ยนกระถาง โดยกลุ่ม emelyae นี้จะฟื้นตัวเร็วมากหลังเปลี่ยนดินใหม่ และเริ่มโตเร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สีสรรสดใสขึ้นภายใน 2-3 อาทิตย์ ดังนั้นหากเป็นไปได้ควรเปลี่ยนดินใหม่ทุก 2-3 ปี ถึงแม้ว่าไม้จะยังคงไม่ใหญ่เกินกระถางเดิมก็ตามครับ


Photobucket

H. emelyae จาก Steve Hammer เมล็ด Cocozza

Photobucket

H. emelyae var. emelyae Saffraanrivier

การขยายพันธุ์ ถ้าเป็น var. major บางครั้งจะให้หน่อบ้างซึ่งสามารถตัดมาผึ่งสักอาทิตย์หนึ่งแล้วชำรากได้ ส่วน var อื่นจะให้หน่อค่อนข้างยาก บางโคลนไม่มีวันให้หน่อเลย จึงต้องขยายพันธุ์ด้วยการชำใบ หรือกุดยอด ซึ่งการชำใบนั้นอาจจะไม่ประสบความสำเร็จเสมอไป ส่วนการกุดยอดผมจะใช้มีดแซะยอดออกมา โดยที่ยอดยังสามารถนำไปชำได้ใหม่ ส่วนโคนที่เหลือหากเรามีบุญวาสนาดี จะแตกยอดมาใหม่ 3-4 หน่อ ซึ่งสามรถตัดไปชำได้เช่นกัน

นอกจากนี้ยังสามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด โดยการผสมเกสรตามที่เคยนำเสนอไปแล้ว จะสามารถผลิตเมล็ดไว้เพาะเองได้ แต่ผมพบว่าemelyae var emelyae ที่เลี้ยงอยู่ส่วนมากจะมีดอกที่เกสรไม่สมบูรณ์ ซึ่งอาจจะเกิดจากสภาพอากาศร้อนของกรุงเทพฯ ส่วน var. comptoniana นั้นผสมง่ายมากครับ หรืออีกทางคือการสั่งเมล็ดจากต่างประเทศ ซึ่งก็เคยสั่งมาเพาะหลายปีมาแล้ว และบางครั้งพบว่างอกถึง 100% ซึ่งคิดว่าเป็นโชค เพราะส่วนมากจะงอกหรอมแหรม

ล่าสุดตอนนี้ ที่แลปที่คณะฯ ผมกำลังให้นักเรียนทดลองเทคนิดการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ Haworthia อยู่ ซึ่งบางชนิดมีการตอบสนองดี แต่สำหรับ H. emelyae ยังไม่ประสบความสำเร็จเป็นที่พอใจนัก คงจะต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับอาหารเพาะและเทคนิคของแต่ละชนิดต่อไปอีกหน่อยครับ


Photobucket


Photobucket

H. emelyae GM256 Rooiberg Pass



Photobucket


Photobucket

H. emelyae no data เมล็ด Mesa Garden

Photobucket

Photobucket

major หลากหลายฟอร์ม

Photobucket

Photobucket

GM259 อีกแล้วครับท่าน

Photobucket

H. emelyae GM267 Kammanassie (บางทีเห็นในชื่อ picta janvlokii)

Photobucket

H. cv. Hakuma ไม้ลูกผสมจาก Japan

Photobucket

Japan อีกต้นครับ ไม่มีชื่อ

Photobucket

นี่ก็Japan คงจะผสมข้ามกันหลายขั้นน่าดู

Photobucket

ลูกผสมทำเอง major x parksiana ตั้งชื่อว่า Black Magic


Photobucket

Photobucket

Photobucket

จบด้วย H. bayeri สามต้น สมัยก่อนเคยถูกจัดรวมเป็น emelyae แต่ตอนนี้แยกแล้ว บางท่านก็ยังเรียกว่า H. correcta แต่ถึงชื่อจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ก็เป็นไม้ที่สวยน่าเล่นครับ



************************************************************************************

No comments:

Post a Comment