Wednesday, December 15, 2010

Haworthia emelyae

Photobucket



เมื่อกล่าวถึงชื่อ Haworthia emelyae หลายท่านอาจจะไม่คุ้นหูเท่าไหร่ แต่ถ้าพูดถึง picta หรือ comptoniana อาจจะคุ้นหูกว่า ทั้งนี้ถึงจะแตกต่างกันมากขนาดไหน ทั้งสองตัวหลังนี้ก็ถูกจัดเป็นชนิดเดียวกัน ซึ่งตามหนังสือ Haworthia Revisited โดย Bruce Bayer ก็แบ่งแยกเป็น variety ต่างๆดังนี้


H. emelyae var. comptoniana
H. emelyae var. emelyae
H. emelyae var. major
H. emelyae var. multifolia



H. emelyae var. comptoniana จาก West of Georgida (Type locality)



Photobucket
H. emelyae var emelyae GM259 North West of Herold




Photobucket


H. emelyae var. major GM400 Muiskraal ไม้จาก Arid Lands Greenhouses



Photobucket

H. emelyae var. multifolia Springfontein เมล็ด Mesa Garden




ส่วน "picta" ที่แปลว่า"แต้มด้วยสี" นั้น ถือว่าเป็นฟอร์มของ H. emelyae var. emelyae ซึ่งก็มีทั้งแบบลายสวยๆ และแบบสีทึมๆ แล้วแต่ว่าจะมาจากแหล่งไหน และมีการคัดสายมาแล้วกี่ขั้นเท่านั้น ตัวอย่างเช่น picta ของญี่ปุ่น ที่มีการพัฒนาไปแล้วหลายขั้น จนได้ฟอร์มและลวดลายที่สวยงามกว่าไม้ดั้งเดิมจากถิ่นกำเนิดที่แอฟริกาใต้

Photobucket
H. emelyae "picta" จากญี่ปุ่น



Photobucket
ฟอร์มใหญ่มากจากญี่ปุ่น


H. emelyae var. emelyae นั้น มีความหลากหลายตามธรรมชาติสูง ซึ่งไม้จากคนละ population จะมีลักษณะที่แตกต่างกัน ทั้งทรงใบ ผิวใบ สีของใบ และลายของใบ ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมในการคัดเลือกสายพันธุ์ตามที่กล่าวไปแล้ว เพื่อให้ได้ไม้ที่มีลักษณะโดดเด่นนั่นเอง การเลี้ยงเจ้า var. emelyae หรือ "picta" นี้ถือว่ายากระดับปานกลาง ปัญหาที่พบบ่อยคือการทิ้งรากในหน้าร้อน เมื่ออุณหภูมิสูงมากๆ ไม้เหล่านี้ถูกโปรแกรมให้พักตัว ดังนั้นถ้าได้รับน้ำมากเกินไปในช่วงนี้ รากจะเน่าเสีย ทำให้ใบแฟบและชะงักการเจริญเติบโต สีจะไม่สวยงามเท่าที่ควร ซ้ำร้ายใบล่างๆอาจเน่า และอาจลามไปถึงแกนต้นได้ ทางแก้คือรดน้ำให้ถี่น้อยลงครึ่งหนึ่ง หรือรดน้ำเพียงโชยๆไม่ให้แฉะมากสลับการรดน้ำชุ่มเป็นครั้งคราว และควรใช้ดินที่มีความโปร่งสูงมาก โดยผสมหินภูเขาไฟหรือ perlite 40-50% ในเครื่องปลูก และหากโรงเรือนอากาศถ่ายเทไม่ดี ควรเพิ่มพัดลมที่เปิดส่ายไว้ 24 ชั่วโมง โดยติดตั้ง timer ให้ปิดพักเครื่องครึ่งชั่วโมง ทุกๆ 3-4 ชั่วโมง เการติดพัดลมนี้ใช้กันมากในญี่ปุ่นช่วงหน้าร้อน และผมเองก็ติดพัดลมในโรงเรือนเช่นกันพบว่าลดปัญหาการเน่าได้ดี

Photobucket
emelyae ในโรงแคคตัสของผม

ทั้งนี้เรื่องแสงเป็นสิ่งสำคัญมาก หากไม้ได้รับแสงมากไป ใบอาจจะไหม้โดยเปลี่ยนเป็นสีขาวๆซีดๆเป็นจ้ำๆ (ไม่ใช่ด่างนะ!) โดยอาจจะไม่ตาย แต่จะทำให้ไม้ชะงัก ดังนั้นควรพรางแสงด้วยแสลน 40-50% แต่ถ้าหากไว้ร่มเกินไป หรือชั่วโมงแสงไม่ถึง ไม้จะโชว์อาการยืดที่โคนใบ ทำให้ฟอร์มเสีย อีกทั้งสีสรรจะไม่สวยสะดุดตาเท่าที่ควรจะเป็น

var. comptoniana เป็น var ที่เลี้ยงง่ายที่สุด เป็นไม้ฟอร์มใหญ่ ใบเรียบเป็นมันวาว และมีลายตาข่ายบนหน้าใบชัดเจน ไม่ค่อยมีปัญหารากเสีย และค่อนข้างทนทานต่ออากาศร้อนและแสงแดด จึงเป็นไม้ที่น่าเล่นน่าเก็บสะสมไว้ในcollection


Photobucket


comptoniana จาก Type locality


ส่วน var. major และ var. multifolia เป็นไม้ฟอร์มเล็ก ใบมีจำนวนมากกว่าและเรียงกันแน่น บางฟอร์มมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างสอง var. นี้ กล่าวคือ major จะมีขนบนใบมาก แต่ multifolia ใบจะค่อนข้างเรียบเรียงซ้อนกันแน่น การเลี้ยงก็ง่ายพอกัน และเลี้ยงเหมือน var. emelyae ตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น หากเลี้ยงจนต้นโตๆเต็มฟอร์มแล้ว ความสวยงามก็มีไม่แพ้กันครับ


Photobucket

major ไม่มีdata จากเมล็ด Mesa Garden



Photobucket

H. emelyae var. multifolia Sandkraal ถือเป็นฟอร์มที่ค่อนไปทาง major


Photobucket

multifolia Springfontein อีกต้น


ช่วงหน้าหนาว Haworthia เกือบทุกชนิดจะเต่งตึงงดงามเป็นพิเศษ ช่วงนี้จึงเหมาะแก่การเปลี่ยนดินเปลี่ยนกระถาง โดยกลุ่ม emelyae นี้จะฟื้นตัวเร็วมากหลังเปลี่ยนดินใหม่ และเริ่มโตเร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สีสรรสดใสขึ้นภายใน 2-3 อาทิตย์ ดังนั้นหากเป็นไปได้ควรเปลี่ยนดินใหม่ทุก 2-3 ปี ถึงแม้ว่าไม้จะยังคงไม่ใหญ่เกินกระถางเดิมก็ตามครับ


Photobucket

H. emelyae จาก Steve Hammer เมล็ด Cocozza

Photobucket

H. emelyae var. emelyae Saffraanrivier

การขยายพันธุ์ ถ้าเป็น var. major บางครั้งจะให้หน่อบ้างซึ่งสามารถตัดมาผึ่งสักอาทิตย์หนึ่งแล้วชำรากได้ ส่วน var อื่นจะให้หน่อค่อนข้างยาก บางโคลนไม่มีวันให้หน่อเลย จึงต้องขยายพันธุ์ด้วยการชำใบ หรือกุดยอด ซึ่งการชำใบนั้นอาจจะไม่ประสบความสำเร็จเสมอไป ส่วนการกุดยอดผมจะใช้มีดแซะยอดออกมา โดยที่ยอดยังสามารถนำไปชำได้ใหม่ ส่วนโคนที่เหลือหากเรามีบุญวาสนาดี จะแตกยอดมาใหม่ 3-4 หน่อ ซึ่งสามรถตัดไปชำได้เช่นกัน

นอกจากนี้ยังสามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด โดยการผสมเกสรตามที่เคยนำเสนอไปแล้ว จะสามารถผลิตเมล็ดไว้เพาะเองได้ แต่ผมพบว่าemelyae var emelyae ที่เลี้ยงอยู่ส่วนมากจะมีดอกที่เกสรไม่สมบูรณ์ ซึ่งอาจจะเกิดจากสภาพอากาศร้อนของกรุงเทพฯ ส่วน var. comptoniana นั้นผสมง่ายมากครับ หรืออีกทางคือการสั่งเมล็ดจากต่างประเทศ ซึ่งก็เคยสั่งมาเพาะหลายปีมาแล้ว และบางครั้งพบว่างอกถึง 100% ซึ่งคิดว่าเป็นโชค เพราะส่วนมากจะงอกหรอมแหรม

ล่าสุดตอนนี้ ที่แลปที่คณะฯ ผมกำลังให้นักเรียนทดลองเทคนิดการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ Haworthia อยู่ ซึ่งบางชนิดมีการตอบสนองดี แต่สำหรับ H. emelyae ยังไม่ประสบความสำเร็จเป็นที่พอใจนัก คงจะต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับอาหารเพาะและเทคนิคของแต่ละชนิดต่อไปอีกหน่อยครับ


Photobucket


Photobucket

H. emelyae GM256 Rooiberg Pass



Photobucket


Photobucket

H. emelyae no data เมล็ด Mesa Garden

Photobucket

Photobucket

major หลากหลายฟอร์ม

Photobucket

Photobucket

GM259 อีกแล้วครับท่าน

Photobucket

H. emelyae GM267 Kammanassie (บางทีเห็นในชื่อ picta janvlokii)

Photobucket

H. cv. Hakuma ไม้ลูกผสมจาก Japan

Photobucket

Japan อีกต้นครับ ไม่มีชื่อ

Photobucket

นี่ก็Japan คงจะผสมข้ามกันหลายขั้นน่าดู

Photobucket

ลูกผสมทำเอง major x parksiana ตั้งชื่อว่า Black Magic


Photobucket

Photobucket

Photobucket

จบด้วย H. bayeri สามต้น สมัยก่อนเคยถูกจัดรวมเป็น emelyae แต่ตอนนี้แยกแล้ว บางท่านก็ยังเรียกว่า H. correcta แต่ถึงชื่อจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ก็เป็นไม้ที่สวยน่าเล่นครับ



************************************************************************************

Wednesday, November 24, 2010

มาผสมHaworthiaกันเถอะ

***บทความสั้นๆต่อไปนี้ ผมเขียนขึ้นและเคยเผยแพร่ลงในเวปบอร์ดของ mycacti.com เมื่อเดือนเมษายน 2552 ซึ่งผมคิดว่ายังมีประโยชน์สำหรับผู้สนใจที่อาจจะยังไม่เคยได้อ่าน เลย copy paste มาลงในบล๊อกกันซะเลย หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ *****


จะว่าไปแล้วในบ้านเราไม่ค่อยมีใครคิดจะผสมเกสร Haworthiaกันเท่าไหร่ ผมว่าเหตุผลก็เพราะดอกHaworthia เป็นหลอดเล็กๆ ผสมยากไม่เหมือนแคคตัส ถ้าใช้พู่กันปั่นๆจะไม่ติดง่ายๆ อีกทั้งเมื่อติดแล้ว หนึ่งฝักมีเมล็ดน้อยเมื่อเทียบกับแคคตัส และมักมีปัญหาเพาะไม่ขึ้น หรือเมื่อขึ้นแล้วต้นอ่อนมักเน่าตาย ปัญหาเหล่านี้จึงเป็นอุปสรรค์ที่ทำให้มีคนตั้งใจผสมHaworthiaเพื่อเก็บเมล็ดน้อยมากในเมืองไทย และส่วนใหญ่จะรอให้ติดเมล็ดเองเมื่อมีแมลงผสม และเก็บเมล็ดมาเพาะเพื่อลุ้นเอาว่าลูกจะหน้าตาเป็นแบบไหน ดังนั้นจึงไม่สามารถผลิตลูกไม้ที่เราระบุเจาะจงเพื่อพัฒนาสายพันธุ์ได้ และจำนวนลูกไม้มีปริมาณน้อย

ผมได้ลองผิดลองถูกในการผสมไม้สกุลนี้มาหลายปี ได้เคยใช้พู่กัน และขนแปรงทาสี ไปจนถึงการตัดผมตัวเองมาใช้!!แต่ก็ได้พบวิธีที่ง่ายและแน่นอนที่สุดเมื่อได้เข้าไปทำวิจัย ในห้องทดลองของสถาบันวิจัยเกี่ยวกับพันธุกรรมพืช ที่นั่นเขาใช้คีมขนาดเล็กที่ปลายแหลมเฟี้ยวในการผสมดอก Arabidopsis ที่มีขนาดเล็กมาก ต้องผสมใต้กล้องจุลทรรศน์ จึงเกิดความคิดที่ว่า ดอกHaworthiaที่มีลักษณะคล้ายกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า น่าจะง่ายต่อการผสมด้วยการใช้คีมปลายแหลมเช่นกัน

ขอเปิดประเด็นด้วยลูกผสมซีรีส์พาร์คเซียน่า F1 สองตัว ที่ผมทำไว้เมื่อเกือบ 8 ปีที่แล้วสมัยเรียนอยู่ที่UC อาจจะเคยโพสไปแล้วเมื่อหลายปีก่อน เอามาให้ชมอีกครั้ง ซึ่งตอนนี้อยู่ในขั้นตอนผลิต F2 ที่น่าจะสวยงามขึ้นกว่าเดิมอีกมากครับ



H. cv. "Dark Star" (parksiana x pubescens var. livida) F1


H. cv. "Black Magic" (parksiana x emelyae var. major)

สิ่งแรกที่ต้องมีครับ ปากคีบปลายแหลม อาจจะหายากสักหน่อย ลองถามตามร้านเครื่องมือแพทย์ไม่ทราบว่ามีหรือเปล่า ของผมได้มาจากแลปโดยตรง หรือถ้าไม่มีจริงๆ ซื้อปากคีบธรรมดามาตะไบเองให้แหลมก็ย่อมทำได้



อย่างแรก เลือกดอกที่บานแล้ว ฉีกกลีบล่าง3กลีบออก ขออภัยเล็บดำหน่อยปลูกต้นไม้มาทั้งวันครับ แหะๆ จะเห็นว่าฉีกออกแล้วจะพบเกสรตัวผู้ที่กำลังปล่อยละออกเกสร อยู่รายล้อมเกสรเพศเมีย



เอาปากคีบคีบเกสรตัวผู้ออกมาให้หมด แล้วเอามาพักไว้ดังภาพ



เราจะเหลือแต่เกสรเพศเมียโดดๆแบบนี้ ทำให้ผสมได้ง่าย

เด็ดเกสรตัวผู้ของอีกต้น จากดอกโดยตรง หรือที่พักไว้แล้ว เอามาป้ายๆบนเกสรตัวเมีย พยายามมองให้เห็นว่าละอองเกสรถูกป้ายติดจริงๆ

สิ่งที่สำคัญก็คือจะต้องใช้เกสรตัวผู้จากคนละต้น ที่เป็นคนละโคลน หากมาจากอีกต้นที่เป็นหน่อมาจากแม่เดียวกัน ก็จะไม่ติดครับ ยกเว้นในกรณี self-compatibility หรือการที่ไม้บางต้นสามารถผสมตัวเองได้นั่นเอง ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น ถึงเราจะไม่ผสม มันก็จะติดเองเกือบทุกฝัก

เราควรผสมช่วงเย็น เพื่อไม่ให้ดอกที่ถูกฉีกแห้งเร็วเกินไประหว่างช่วงมีแดดตอนกลางวัน ถ้าผสมติด รังใข่จะบวมๆให้เห็นใน2-3วัน ดังภาพ

และจะพัฒนาไปเป็นฝักในที่สุด

เมื่อฝักแก่จะแตกออกที่ปลาย ขออภัยไม่ได้เก็บภาพไว้ เมื่อปลายฝักเริ่มปริ เราเด็ดมาแกะเอาเมล็ดได้เลยครับ แล้วเก็บไว้ในที่แห้งๆเดือนหนึ่งก่อน ค่อยนำไปเพาะ ส่วนเรื่องการเพาะ จะนำเสนอในตอนต่อไปนะครับ

Monday, November 22, 2010

Euphorbia gymnocalycioides










ใครจะไปคิดว่าไม้ประหลาดหน้าตาคล้ายกับแคคตัสในกลุ่มยิมโนชนิดนี้ จะเป็นญาติใกล้ชิดกับโป๊ยเซียน ส้มเช้า สลัดได หรือแม้แต่ต้นคริสมาสใบแดงๆที่ขายกันตามเทศกาล และไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับพวกแคคตัสแต่ประการใด !




ไม้ประหลาดชนิดนี้มีชื่อว่า Euphorbia gymnocalycioides หรือที่บ้านเราเรียกทับศัพท์ว่า "ยูโฟเบียยิมโน" ชื่อของมันก็บ่งบอกอยู่แล้ว ว่าหน้าตาเหมือนแคคตัสในสกุล Gymnocalycium ที่มาจากคนละทวีปห่างกันหลายพันกิโลเมตร และมาจากคนละวงศ์ นั่นคือเจ้ายูโฟเบียมาจากวงศ์ Euphorbiaceae ที่มีสมาชิกที่ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกันได้อย่างต้นยางพารา สบู่ดำ มะยม ไม่ได้มาจากวงศ์ของแคคตัส Cactaceae แต่ประการใด แต่บังเอิญมีหน้าตาคล้ายคลึงกัน ซึ่งก็เป็นผลจากการวิวัฒนาการแบบ convergent evolution หรือเมื่อสิ่งมีชีวิตจากคนละพวกต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เหมือนกัน ก็มักจะวิวัฒนาการให้มีหน้าตาออกมาคล้ายกันไปด้วยนั่นเอง





















ในยุค 70 เมื่อ Mike Gilbert ได้ออกสำรวจบริเวณเทือกเขาที่ตกสำรวจในจังหวัด Sidamo ทางตอนใต้ของประเทศเอธิโอเปีย เขาได้พบกับเจ้าไม้ชนิดนี้เข้า ที่ระดับความสูง 1350 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล และได้เก็บตัวอย่างต้นมาศึกษา ทำให้วงการพฤกษศาสตร์ และวงการนักเล่นไม้อวบน้ำในขณะนั้นตื่นตัวเป็นอันมาก เพราะเป็นยูโฟเบียแบบทรงกลมแป้นไม่กี่ชนิดที่ถูกพบในแอฟริกาตะวันออก เมื่อแรกพบนั้นต่างคิดกันว่าอาจเป็นฟอร์มของ Euphorbia turbiniformis แต่ชนิดหลังนี้มาจากแถบตะวันออกของประเทศโซมาเลีย ห่างกันหลายร้อยกิโลเมตร ที่น่าฉงนก็คือ ในแผ่นตัวอย่างแห้ง (herbarium sheet) ของ E. turbiniformis ที่เก็บโดย Emilio Chiovanda ผู้ค้นพบมันในปี 1936 นั้น มียูโฟเบียแห้งต้นหนึ่งติดอยู่ด้วยที่มีลักษณะเหมือน E. gymnocalycioides มาก จนมีผู้สงสัยว่าท่าน Chiovenda อาจจะได้พบมันแล้ว 40 ปีก่อนหน้าที่ Mr. Gilbert จะค้นพบมันอีกครั้ง เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นเสมอในวงการพฤษศาสตร์ แม้แต่ E. turbiniformis เองก็หายสาบสูญไป 32 ปี ก่อนที่ John Lavranos จะค้นพบมันอีกครั้งโดยบังเอิญที่รอบๆ Eil Airport ในโซมาเลีย ขณะเครื่องบินของเขาแวะพักเติมน้ำมันอยู่นั่นเอง!























แรกเริ่มเดิมทีตอนมีการค้นพบใหม่ๆนั้น ไม้ชนิดนี้มีค่าดังทองคำ เพราะเชื่อกันว่าหายากยิ่ง และมีการนำมาปลูกกันไม่กี่ต้นเท่านั้น ผู้คนต่างสงสัยว่าเมื่อปลูกไปแล้ว จะมีการงอกแขนหรือกิ่งแขนงออกมาดังเช่น E. horwoodii หรือไม่ แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีการงอกกิ่งแขนงออกมาแต่ประการใด และในไม่ช้า เมล็ดก็ถูกผลิตออกมา เจ้ายูโฟเบียชนิดนี้ก็ถูกเผยแพร่ออกไปตามสวนพฤกษศาสตร์ต่างๆ และวงการนักเล่นแคคตัสไม้อวบน้ำทั่วโลก อีกทั้งยังมีการค้นพบแหล่งใหม่ๆในธรรมชาติเช่นที่ Negele ทางใต้จากแหล่งเดิมที่ Sidamo ว่ากันว่าไม้จากแหล่งใหม่นี้มีลายสวยชัดเจนกว่าของเดิม


ผมได้มีโอกาสรู้จักเจ้าไม้ตัวนี้ครั้งแรกจากหนังสือไม้อวบน้ำของต่างประเทศเมื่อปลายยุค 90 ในตอนนั้นไม้ตัวนี้เริ่มมีขายกันตาม Nursery ต่างๆในอเมริกา ประจวบเหมาะกับที่ผมได้ไปเรียนหนังสือที่นั่น จึงไม่พลาดโอกาสที่จะได้สั่งซื้อเจ้าไม้ประหลาดนี้มาทดลองเลี้ยง โดยชุดแรกได้มาจากสวนชื่อดัง Arid Lands Greenhouses ในอริโซน่า และยังได้สั่งเมล็ดจาก Mesa Garden มาทดลองเพาะ โดยราคาอยู่ที่ประมาณเมล็ดละ 1 ดอลล่า หรือ 50 บาทในช่วงยุค IMF ขณะนั้น !



เมื่อนำต้นและเมล็ดกลับมาปลูกที่เมืองไทย พบว่าสามารถเลี้ยงได้ดีในอากาศร้อนชื้นแบบบ้านเรา ดีกว่าตอนที่เลี้ยงอยู่ที่อเมริกามาก จึงรู้สึกว่าไม้ตัวนี้เป็นไม้ที่เลี้ยงง่าย สวยงาม และเหมาะกับเมืองไทยเป็นอันมาก ในขณะนั้นผมได้ไม้มาเพิ่มเติมจากพี่ๆและผู้ใหญ่นักเล่นใจดีหลายท่านในเมืองไทย ทำให้ผมมีไม้อยู่ในโรงเลี้ยงจำนวนหนึ่งที่แสดงให้เห็นความหลากหลายทางพันธุกรรมในไม้ชนิดนี้ กล่าวคือไม้บางต้นสันจะแหลม บางต้นจะทู่ๆกลมๆ ทั้งลายยังมีความต่าง ชัดจางแตกต่างกันไป ทำให้เพิ่มความสนุกสนานในการเก็บสะสม และรู้สึกว่าไม้ตัวนี้มีอนาคตในการ selective breeding หรือการคัดเลือกสายพันธุ์ที่เด่นสวย ดังเช่นที่ประเทศญี่ปุ่นคัดเลือกสายพันธุ์ Astrophytum หรือ Haworthia เป็นต้น

เมล็ดมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับยูโฟเบียชนิดอื่นๆ แต่ก็ไม่ได้ทำให้เพาะยากแต่ประการใด ผมโรยเมล็ดบนหน้าดินที่เปียกชุ่มด้วยน้ำผสมcaptan แล้วมัดกระถางในถุงพลาสติก เทคนิคเดียวกับที่ใช้เพาะแคคตัส ลืมมันไปเลย 6 เดือนเต็มๆ ซึ่งขณะนั้นผมบินไปเรียน บินกลับ แล้วค่อยมาดู เมื่อกลับมาต้นอ่อนก็จะพร้อมที่จะถูกเอาออกมาจากถุงแล้ว อะไรจะง่ายปานนี้!

การโตอยู่ในระดับปานกลาง เทียบกับแคคตัสหินๆหลายตัวแล้ว ถือว่าเร็วทีเดียวครับ ไม้อายุ 2-3 ปีเริ่มให้ดอกกันแล้ว ซึ่งดอกนั้นมีขนาดเล็ก ไม่มีความน่าสนใจ ซึ่งผมว่านี่เป็นข้อด้อยของยูโฟเบียส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับแคคตัส แต่เพราะมีขนาดเล็ก จึงออกมาจำนวนมาก ทำให้ต้องมานั่นเขี่ยผสมเกสรกันบ่อยๆ โดยผมใช้คีมปากแหลมขนาดเล็กในการคีบเกสรและผสมระหว่างต้น ในไม่ช้าไม้ของผมหลายต้นก็ติดฝัก และในไม่ช้าเมล็ดก็ดีดกระเด็นทิ้งไปก่อนที่ผมจะมีโอกาสเก็บมัน!! (ทำให้คิดในใจ มันเมล็ดละเหรียญนะนั้น!) เป็นประสบการแรกที่ผมเรียนรู้เกี่ยวกับไม้ตัวนี้ คือต้องเช็คทุกเช้า ถ้าก้านฝักชูขึ้น แสดงว่าพร้อมดีดเมล็ด ถ้าดึงเบาๆแล้วฝักหลุดออกโดยไม่มียางไหล แสดงว่าฝักแก่แล้ว นำฝักนั้นเก็บเข้าซองกระดาษ ให้เค้าไปดีดเองในซองได้เลยครับ


ไม้ชนิดนี้ถ้าโตเต็มที่แล้ว สันก็จะยิ่งชัด แม้ลายอาจจะจางลงไปบ้าง แต่เป็นธรรมดา ที่ไม้อายุมากๆแล้ว ทรงจะเบี้ยว ไม่ได้กลมสมมาตรเหมือนตอนเด็ก และอาจจะเริ่มออกหน่อตามข้างต้น ซึ่งหน่อเหล่านั้นสามารถเด็ดไปชำหรือกราฟขยายพันธุ์ได้เช่นเดียวกัน อยากฝากเตือนว่า ถ้าท่านมีไม้ต้นใหญ่ๆอายุมากๆไว้ในครอบครอง ต้องระวังเรื่องดินเรื่องน้ำให้ดีครับ ไม้แก่นั้นจะไม่แข็งแรงเหมือนตอนมันเล็ก หากเจอดินชื้นนานๆ หรือแน่นมากๆ โอกาสเน่ามีสูงมาก ซึ่งผมเองเรียนรู้ด้วยประสบการราคาแพงที่ต้องสูญเสียไม้ที่ใหญ่ สวย และรักที่สุดไป เพียงแค่ไปเปลี่ยนกระถางให้ใหญ่ขึ้น ดินแบบผสมอินทรย์วัตถุสูง หวังแค่ว่ามันจะโตขึ้นอีก แต่ก็ต้องมาจากไปก่อนเวลาอันควรจากโรคเน่าโคนต้น ซึ่งยังเสียใจจนถึงทุกวันนี้ ไม้แก่ๆนั้นต้องปฏิบัติกับเค้าเหมือนคนแก่ครับ ค่อยๆเป็นค่อยๆไปช้าๆ ไปเร่งมากๆไม่ได้ครับ :)

**********************************************************************************

Wednesday, December 23, 2009

Pseudolithos migiurtinus

I first saw this plant in a succulent book many years ago and thought they looked so cool and had always wanted to grow one of these. It wasn't until sometime in the late 1990's that I saw some plants offered in a mail order nursery in the USA. The price was steep! so I passed


An experienced collector friend in Thailand said this plant can be easily grown in our climate and I should buy them from other collectors in Thailand. Shortly after, I obtained a few mature plants from a local nursery. The price was still comparatively hight compare to these days. The plant in the picture is one of my first plants .





Cultivation in tropical climate of Bangkok proved easy as long as they are kept away from rain and excessive strong sunlight. I learned the hard way about these two factors! These grow at medium speed but do grow steadily. Heat is what they love, comming from hot tropical desert of Somalia. Very well draining soil is also important and I use a lot of pumice in the mix.




Seed pods were spontaneusly produced due to the ever presence of flies. Try standing next to a table full of blooming Pseudolithos on a hot day and you will have no doubt why! Germination was very fast, only after a few days from sowing. Soon I was growing many seedlings. Best sowing method is what I call "semi-baggie" method, in which seeds are sown on the surface of soaked soil mix and lightly covered with grit, then the pot is put in clear plastic bages and kept sealed until most have germinated, then the bages are opened. After a few days the bags can be removed. Seedlings should be kept moist the first few months with regular watering.

Within six months young seedlings will be ready for pricking out. Flowering can occur soon after. Occasionally you will get odd ones with double and triple heads. I have not yet produce a cristate plant, although I have seen one imported from Japan at 50000 Thai Baht!, a truely rare item. If you grow this plant near other Pseudolithos species you will get some spontaneous hybrids. I have some seedlings that are from crosses between P. migiurtinus and P. dodsoniana which show intermediate characteristics, and also grow very fast compare to both parent species, an example of hybrid vigour.